การเตรียมรับเสด็จพระคริสต์มี 4 สัปดาห์
ซึ่งหมายถึงการเสด็จมาของพระคริสต์ 4 ครั้ง
ลองเดาดูสิว่า ทั้ง 4 ครั้งนี้มีอะไรบ้าง?
เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้านี้เคยเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย สิ่งที่ปฏิบัติกันในปัจจุบันนี้มีขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 9
คุณรู้ไหมว่าเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า(Advent) มีสี่สัปดาห์? เรียงลำดับกันโดยปกติจะมีวันอาทิตย์สี่วันเสมอ และสัปดาห์สุดท้ายจะจบลงที่ไหน ขึ้นอยู่กับว่า Advent เริ่มต้นเมื่อใด: โดยอาจเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายนหรือ 3 ธันวาคม
เกร็ดประวัติ
หนึ่งในบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของ Advent พบได้ใน St. Gregory of Tours 'History of the Franks นักบุญเกรกอรีรายงานว่านักบุญแปร์เปทูส(St. Perpetuus) ประมาณปี ค.ศ. 480, ได้มีคำสั่งให้เตรียมสำหรับคริสต์มาสเริ่มตั้งแต่วันฉลองนักบุญมาร์ติน (11 พฤศจิกายน) จนถึงวันคริสต์มาส ช่วงเวลา 43 วันนี้จึงเรียกว่า “ช่วงมหาพรตของนักบุญมาร์ติน(St. Martin’s Lent)” เพื่อเลียนแบบมหาพรตสำหรับเทศกาลอีสเตอร์
ต่อมา,สภาพระศาสนจักรท้องถิ่นในเมืองตูร์, ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 567 ได้ก่อตั้งเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสต์ 24 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง 24 ธันวาคม จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 9 พระสันตปาปานักบุญนิโคลัสที่ 1 ได้กำหนดกรอบเวลาที่เรายังคงใช้อยู่ สำหรับเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสต์: สี่วันอาทิตย์ โดยวันแรกเป็นวันอาทิตย์ที่ใกล้กับวันเซนต์แอนดรูว์มากที่สุด (30 พฤศจิกายน) และระยะเวลายาวไปถึง 22 ถึง 28 วัน
การเสด็จมาของพระคริสต์
มีความหมายอันลึกซึ้งของโครงสร้างของ Advent คำว่า " Advent = การมาถึง" เดิมเป็นคำภาษาละติน แปลว่า "การมา" จุดประสงค์ของเทศกาลนี้ก็คือเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จมาของพระคริสต์
ดอม เกรังเงร์(Dom Gueranger) ผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมชาวฝรั่งเศส ชี้ให้เห็นว่า "การบังเกิดครั้งใหม่ของพระผู้ไถ่ของเราจะเกิดขึ้นหลังจากสี่สัปดาห์ เช่นเดียวกับการบังเกิดครั้งแรกเกิดขึ้นหลังจากสี่พันปี" ตามลำดับเหตุการณ์ในพันธสัญญาเดิม
เราได้รับเชิญในเทศกาล Advent เพื่อเป็นหนึ่งเดียวฝ่ายจิตกับผู้มีความเชื่อในพันธสัญญาเดิมที่รอคอยการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ตลอดระยะเวลาประมาณ 4,000 ปี
Jacobus de Voragine ,ในหนังสือ The Golden Legend บันทึกการตีความในยุคกลางอีกประการหนึ่งว่า: “การมาถึงของพระเยซูคริสต์มีการเฉลิมฉลองเป็นเวลาสี่สัปดาห์ เพื่อแสดงว่าการเสด็จมาของพระเจ้าครั้งนี้มีสี่ครั้ง”
เขาบอกว่าพระเยซูเสด็จมา...
“ในเนื้อหนัง” เมื่อพระองค์ประสูติจากพระนางมารีย์ในเมืองเบธเลเฮม
“เข้าสู่ใจของเรา” เมื่อเราเป็นสมาชิกในพระศาสนจักรของพระองค์โดยการรับศีลล้างบาป และรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์โดยอาศัยพระหรรษทาน
“ในความตาย” เมื่อเราแต่ละคนได้รับเรียกให้มาปรากฏต่อพระพักตร์พระองค์เป็นรายบุคคล
“ในการพิพากษาครั้งสุดท้าย” เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับมาอีกครั้งด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ “เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย”
เตรียมตัวเราเองสำหรับการเสด็จมาทั้งสี่ครั้ง
ในบทอ่านพระวรสารที่พระศาสนจักรกำหนดในแต่ละวันอาทิตย์ทั้งสี่แห่งเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า กำลังเตรียมเราให้พร้อมสำหรับการเสด็จมาทั้งสี่ครั้งนี้
— วันอาทิตย์แรกของเทศกาล Advent มุ่งเน้นไปที่การเสด็จมาของพระคริสต์ในการพิพากษาครั้งสุดท้าย ในพระวรสารปีนี้ (มาระโก 13.33-37) เราได้รับการเตือนถึงหมายสำคัญที่จะเกิดขึ้นก่อนการมาถึงนี้ และเตือนว่า “วันนั้นจะกระทบต่อทุกคนที่อาศัยอยู่บนพื้นโลก”
— พระวรสารสำหรับวันอาทิตย์ที่สอง (มาระโก 1:1-8) แสดงให้เราเห็นยอห์นผู้ชำระล้างด้วยน้ำ “ประกาศการรับศีลชำระแห่งการกลับใจ” พระศาสนจักรกำลังเตรียมเราให้พร้อมรับการเสด็จมาของพระคริสต์ในความตาย
— พระวรสารของวันอาทิตย์ที่สาม (ยอห์น 1:6-8) ดำเนินต่อจากพระวรสารของวันอาทิตย์ที่สอง ที่นี่ยอห์นให้คำแนะนำเมื่อมีคนถามเขาว่า “เราควรทำอย่างไร” ยอห์นให้คำแนะนำเพื่อเตรียมเราให้พร้อมรับการเสด็จมาของพระคริสต์เข้าสู่ใจเราเช่นกัน
— ในวันอาทิตย์สุดท้ายของ Advent การอ่านพระวรสารเป็นเรื่องราวของการที่แม่พระเสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ (ลูกา 1:26-38) การเสด็จมาของพระคริสต์ในประวัติศาสตร์ใกล้เข้ามาแล้ว และพระศาสนจักรแสดงให้เราเห็นพระนางมารีย์ทรงเป็นแบบอย่างของผู้ที่ “เชื่อว่าสิ่งที่พระเจ้าตรัสไว้จะสำเร็จ” พระนางมารีย์ทรงเป็นเบธเลเฮมแรก เพราะพระคริสต์เสด็จมาครั้งแรกในพระครรภ์ของพระนาง
นักบุญเบอร์นาร์ดแห่งแคลร์โวซ์(St. Bernard of Clairvaux)สอนว่าการเสด็จมาเหล่านี้เชื่อมโยงกันอย่างลึกลับ พระบุตรของพระเจ้าได้รวมพระองค์เองเข้ากับธรรมชาติของมนุษย์ในประวัติศาสตร์ เพื่อว่าพระองค์จะทรงรวมเราเข้ากับพระองค์เองโดยเสด็จเข้ามาในใจของเรา และด้วยวิธีนี้จะเตรียมเราให้พร้อมที่จะยืนอยู่ต่อพระพักตร์พระองค์ในความตายและในการพิพากษาครั้งสุดท้าย เพื่อที่เราจะได้รับส่วนแห่งพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ในสวรรค์ชั่วนิรันดร
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น