ศิลปิน Átila Soares da Costa Filho ได้สร้างรูปภาพของพระนางมารีย์โดยอ้างอิงจากผ้าพันพระศพแห่งตูรินและผลงานของ Ray Downing นักออกแบบกราฟิกคอมพิวเตอร์
พระนางมารีย์มีหน้าตาเป็นอย่างไรตามที่เป็นจริง? มีการแสดงภาพของพระนางนับไม่ถ้วนตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา แต่ไม่มีภาพใดที่เป็นตัวแทนได้อย่างแท้จริงต่อรูปลักษณ์ทางกายภาพของพระนางในขณะที่เธอยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ แม้ว่าพระนางจะประจักษ์ต่อบางคน เช่น ที่กัวดาลูเป, ลูร์ด, หรือฟาติมา รูปลักษณ์ของพระนางดูเหมือนจะปรับให้เข้ากับสถานที่และเวลา แต่สิ่งเป็นที่หลักในทุกกรณีคือพระนางทรงงดงามเสมอ
ศิลปินชาวบราซิล Átila Soares da Costa Filho ต้องการให้คำตอบที่เป็นไปได้สำหรับคำถามนี้ และได้เริ่มพยายามที่จะสร้างภาพเหมือนของพระนางมารีย์ที่สมเหตุสมผลโดยใช้ผ้าพันพระศพแห่งตูรินและเครื่องมือคอมพิวเตอร์ เช่น AI และการแก้ไขภาพดิจิทัล
ผ้าพันพระศพแห่งตูรินเป็นข้อมูลอ้างอิง
เขาเริ่มต้นด้วยผ้าพันพระศพแห่งตูรินด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ นั่นคือ: พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าที่แท้จริง แต่ก็ทรงเป็นมนุษย์ที่แท้จริงด้วย พระองค์บังเกิดจากพระนางมารีย์พรหมจารีย์โดยอำนาจของพระจิต ลูกชายทุกคนมีความคล้ายคลึงกับมารดาของเขา และพระเยซูก็ดูเหมือนจะไม่มีข้อยกเว้น พระเยซูต้องมีลักษณะเหมือนพระมารดาของพระองค์มากกว่านั้นสักเพียงไร ในเมื่อพระองค์ไม่มีบิดาผู้ให้กำเนิดที่เป็นมนุษย์!
ดังนั้น, ศิลปินจึงให้เหตุผลว่าเขาสามารถย้อนกลับไปจากภาพ "ภาพถ่าย" ของพระเยซูที่เรามี ซึ่งก็คือภาพบนผ้าพันพระศพ ที่เชื่อมโยงไปยังรูปลักษณ์ของพระนางมารีย์ได้ แต่ภาพจากผ้าพันพระศพนั้นแสดงให้เห็นพระเยซูทรงผิดรูปเพราะความทุกข์ทรมานและความตาย เขาต้องการภาพลักษณ์ของพระเยซูที่มีชีวิต
เรย์ ดาวนิ่ง(Ray Downing)เป็นนักออกแบบกราฟิกคอมพิวเตอร์ที่สร้างสรรค์สิ่งนั้นขึ้นมา เขาประมวลผลและจัดการข้อมูลจากผ้าพันพระศพเพื่อสร้างภาพ 3 มิติของพระเยซูให้ดูเหมือนพระองค์ทรงเป็นผู้ใหญ่ที่มีชีวิต ผลงานของเขาเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินคนอื่นๆ สร้างสรรค์ผลงานของตนเอง
การใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง
Átilaบอกกับ Aleteia ในปี 2021 ว่า:
ผลลัพธ์ของ Downing ถือเป็นผลงานที่แท้จริงและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดในบรรดาความพยายามที่ได้ทำไป โดยใช้ใบหน้านี้เป็นฐาน ผมทำการทดลองต่างๆกับซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์และโครงข่ายประสาทเทียมเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อเปลี่ยนเพศ จากนั้น ผมจึงใช้โปรแกรมอื่นๆ เพื่อปรับแต่งใบหน้า และสุดท้าย เป็นการรีทัชงานศิลปะด้วยตนเอง เพื่อที่จะกำหนดลักษณะทางชาติพันธุ์และมนุษยวิทยาของผู้หญิงจากปาเลสไตน์เมื่อ 2,000 ปีก่อนได้ดียิ่งขึ้น...
สิ่งนี้ทำให้ได้รูปภาพของพระนางมารีย์ที่เป็นผู้ใหญ่ แต่เขายังต้องการได้รูปภาพหน้าตาเมื่อเป็นวัยรุ่นด้วย เขาใช้วิธีการของ AI อีกครั้งเพื่อช่วยลดอายุของภาพ ดังนั้นรูปภาพพระนางมารีย์จึงปรากฏตัวในยุคเดียวกับตอนที่พระนางให้กำเนิดพระเยซู
ในภาพวัยรุ่น, พระนางมารีย์กำลังยิ้มใน “ความงดงามของวัยเยาว์ เป็นตัวแทนของความสุขและความคาดหวัง คำสัญญาและความหวังสำหรับชีวิตของพระนางซึ่งเพิ่งจะเริ่มต้น … และยิ่งกว่านั้น,เมื่อพระนางค้นพบว่าพระนางจะเป็นมารดาของพระเมสสิยาห์ ”
ภาพเหมือนที่มีอายุมากขึ้นมี "รูปลักษณ์ที่แข็งแกร่ง แต่เคร่งขรึม สตรีผู้มุ่งมั่นอย่างมากต่องานแพร่ธรรมของพระนางและยัญบูชาของพระผู้ไถ่ของพระนาง … องค์พระบุตรของพระนาง” ใบหน้าของพระนางสะท้อนให้เห็นถึง “ความรุ่งโรจน์ แต่ยังเศร้าโศกและการเสียสละตนเองอย่างเต็มที่” ศิลปินอธิบาย
เวอร์ชันที่สองที่สมจริงยิ่งขึ้น
ขณะนี้, กว่าสองปีหลังจากการเผยแพร่ผลการทดลองครั้งแรก, ภาพหลักๆที่การทดลองนี้สร้างขึ้น ทั้งของพระนางมารีย์ในวัยรุ่นและที่เป็นผู้ใหญ่ ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ให้มีความสมจริงและรายละเอียดที่มากขึ้น
“ในปี 2021 ขณะที่ยังคงสร้าง [ภาพแรก] อยู่ ผมก็คิดที่จะนำการทดลองไปสู่ระดับที่สมจริงมากอยู่แล้ว ผมมีทรัพยากรด้านเทคนิคมากมายสำหรับเรื่องนี้ การตัดสินใจในเวลานั้นที่จะสร้างใบหน้าในสไตล์ศิลปะที่สมจริง ผมรู้อยู่แล้วว่าขั้นตอนต่อไปคือขั้นตอนนี้” Átila Soares อธิบาย
ผลงานของนักวิจัยให้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ ซึ่งได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางเมื่อเขาเผยแพร่ภาพชุดแรกในปี 2021 และอีกครั้งในปี 2024 ด้วยเวอร์ชันใหม่
ภาพที่สร้างขึ้นใหม่รูปพระนางมารีย์ในวัยรุ่น
รูปภาพสองภาพของพระนางมารีย์สมัยวัยรุ่น สร้างสรรค์โดย Átila Soares da Costa Filho
รูปภาพของพระนางมารีย์ในวัยรุ่น (เวอร์ชันเก่าทางด้านซ้าย และเวอร์ชันใหม่ทางด้านขวา)
การสร้างรูปภาพของพระนางมารีย์ขึ้นมาใหม่เมื่อเป็นผู้ใหญ่:
รูปพระนางมารีย์สองรูปเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ สร้างสรรค์โดย Átila Soares da Costa Filho
พระนางมารีย์ในวัยผู้ใหญ่ (เวอร์ชั่นเก่าทางซ้าย เวอร์ชั่นใหม่ทางด้านขวา)
ภาพแรกของเขาได้รับการสนับสนุนจากนักซินโดโนโลจี(sindonologists - ผู้ที่ศึกษาผ้าพันพระศพ)ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลก แบร์รี เอ็ม. ชวอร์ตซ์(Barrie M. Schwortz) ช่างภาพบันทึกเอกสารอย่างเป็นทางการของโครงการวิจัยผ้าพันพระศพแห่งตูริน
ในปี 2021 รูปภาพดังกล่าวจะรวมอยู่ในเอกสารสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการของอาสนวิหารแห่งฟาติมาในโปรตุเกส การบูรณะครั้งนี้ยังได้รับการตอบรับจากทั่วโลกด้วยความรักและกระตือรือร้น
ที่มา - Aleteia - published on 01/19/24
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น