วิวรณ์ 20:6 กล่าวว่า “ผู้ที่มีส่วนในการกลับคืนชีพครั้งแรกย่อมเป็นสุขและเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ความตายที่สองไม่มีอำนาจเหนือเขาเหล่านี้เลย แต่เขาจะเป็นสมณะของพระเจ้าและของพระคริสตเจ้า และจะครองราชย์พร้อมกับพระองค์เป็นเวลาหนึ่งพันปี."
ข้อความนี้มีอยู่ในหนังสือวิวรณ์ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายของพระคัมภีร์คาทอลิก, เป็นหนังสือประเภทคำพยากรณ์เพียงเล่มเดียวในพันธสัญญาใหม่ เนื่องจากถือเป็นพระคัมภีร์ที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์, จินตภาพ, และนิมิตเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของโลกและการเสด็จกลับมาของพระคริสตเจ้า หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักบุญยอห์นอัครสาวกผู้ถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะปัทมอส ท่านได้รับนิมิตจากพระเยซูคริสต์เอง
วิวรณ์ 20:6 พูดถึงการกลับคืนชีพครั้งแรก ซึ่งเป็นการกลับคืนชีพของผู้ชอบธรรมเข้าสู่ชีวิตนิรันดร์กับพระเจ้า สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของคริสตชนในการกลับคืนชีพทางร่างกายของผู้ที่ตายไปแล้ว, ซึ่งผู้ที่มีความเชื่อในพระเจ้าและพระเยซูคริสต์,พระบุตรของพระองค์,จะกลับคืนชีพเพื่ออยู่กับพระองค์ตลอดไป ข้อความนี้ยังกล่าวถึงความตายครั้งที่สอง, ซึ่งเป็นความตายฝ่ายวิญญาณและการแยกจากพระเจ้าสำหรับผู้ที่ไม่เชื่อในพระองค์ และจะไม่มีอำนาจเหนือผู้ที่มีส่วนในการกลับคืนชีพครั้งแรก
หัวข้อเรื่องการกลับคืนชีพนี้สามารถพบได้ในพันธสัญญาใหม่ ซึ่งหัวข้อนี้เป็นศูนย์กลางของความเชื่อของคริสตชน ความหวังในการกลับคืนชีพทำให้ผู้มีความเชื่อมั่นใจได้ว่าความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นการเปลี่ยนไปสู่ชีวิตนิรันดร์เพื่ออยู่กับพระเจ้า ความหวังนี้เป็นแหล่งที่มาของการปลอบโยนและความเข้มแข็งสำหรับคริสตชนทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับการเบียดเบียน, ความทุกข์ทรมาน, และความตาย
ข้อความนี้ยังกล่าวด้วยว่าผู้ที่มีส่วนในการกลับคืนชีพครั้งแรกจะเป็นสมณะของพระเจ้าและของพระคริสต์ สิ่งนี้เน้นย้ำถึงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้มีความเชื่อในฐานะผู้อภิบาลและผู้รับใช้ของพระเจ้า ที่ได้รับเรียกให้รับใช้และนมัสการพระองค์ ในพันธสัญญาเดิม,สมณะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับประชาชน โดยถวายเครื่องบูชาและอธิษฐานในนามของประชาชน ในพันธสัญญาใหม่ ผู้มีความเชื่อถูกเรียกว่าสมณะราชตระกูล, ชนชาติศักดิ์สิทธิ์, และประชากรที่เป็นกรรมสิทธิ์พิเศษของพระเจ้า (1 เปโตร 2:9) แสดงให้เห็นว่าผู้มีความเชื่อทุกคนสามารถเข้าถึงพระเจ้าได้โดยตรงและได้รับเรียกให้มารับใช้พระองค์
นอกจากนี้,พระคัมภีร์ข้อนี้ยังกล่าวอีกว่าผู้ที่มีส่วนในการกลับคืนชีพครั้งแรกจะครองราชย์พร้อมกับพระคริสต์เป็นเวลาหนึ่งพันปี นี่เป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงและตีความกันมากในหมู่นักเทววิทยาและนักวิชาการ ซึ่งรู้จักกันในนามรัชสมัยหนึ่งพันปีของพระคริสต์ บางคนตีความว่านี่เป็นช่วงเวลาหนึ่งพันปีที่พระคริสต์จะทรงปกครองแผ่นดินโลก ในขณะที่บางคนมองว่าสิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของระยะเวลาที่ยาวนานกว่าและไม่มีกำหนด หรือเป็นการครอบครองฝ่ายวิญญาณในหัวใจของผู้มีความเชื่อ
จินตภาพและสัญลักษณ์ในวิวรณ์ 20:6 นั้นร่ำรวยและซับซ้อน สะท้อนถึงลักษณะโดยรวมของหนังสือวิวรณ์ การกล่าวถึงการกลับคืนชีพครั้งแรก, ความตายครั้งที่สอง, สมณะของพระเจ้าและของพระคริสต์, และการครองราชย์หนึ่งพันปีของพระคริสต์ สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งชี้ให้เห็นถึงเรื่องราวอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับชัยชนะสูงสุดของพระเจ้าเหนือความชั่วร้าย และการสถาปนาอาณาจักรของพระองค์บนโลก
โดยสรุป,วิวรณ์ 20:6 เป็นข้อความที่มีพลังและให้ความหวังซึ่งพูดถึงแก่นแท้แห่งความเชื่อของคริสตชน เป็นการตอกย้ำถึงความหวังในการกลับคืนชีพของเรา, บทบาทของผู้มีความเชื่อในฐานะพระสงฆ์ของพระเจ้า, และให้คำสัญญาว่าจะเราครองราชย์ร่วมกับพระคริสต์, ส่งเสริมให้ผู้มีความเชื่อรักษาความซื่อสัตย์และรอคอยการบรรลุถึงอาณาจักรของพระเจ้าในที่สุด ข้อความในพระคัมภีร์ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจถึงชัยชนะสูงสุดของผู้มีความเชื่อในพระคริสต์ และความหวังนิรันดร์ที่พวกเขามีในพระองค์
ในคำสอนเรื่องการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์นั้น,ทางพระศาสนจักรคาทอลิกไม่ได้ระบุวันที่คาดการณ์หรือข้อมูลเฉพาะเจาะจงมากมายเกี่ยวกับการวาระสุดท้าย และไม่ได้สอนว่าพระคัมภีร์วิวรณ์ให้คำอธิบายตามตัวอักษรด้วย
ในขณะเดียวกัน,พระศาสนจักรเองยอมรับว่าเรากำลังอยู่ใน “วาระสุดท้าย” นับตั้งแต่การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซูเจ้า เรากำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของประวัติศาสตร์ของมนุษย์ สมาชิกกลุ่มแรกสุดของพระศาสนจักรเชื่อว่าพระเยซูจะเสด็จกลับมาในช่วงชีวิตของพวกเขาด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม, คนรุ่นต่อๆมามีแนวโน้มที่จะยอมรับความไม่ชัดเจนของการเสด็จกลับมา “เร็วๆนี้” ของพระเยซู (ดูวิวรณ์ 22:7, 20) และความจริงที่ว่า “สำหรับพระเจ้าหนึ่งวันก็เหมือนหนึ่งพันปีและหนึ่งพันปีก็เหมือนหนึ่งวัน ” (2 เปโตร 3:8)
เนื่องจากเวลาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นและพระเจ้าไม่ได้ถูกผูกมัดด้วยเวลาของมนุษย์ การเสด็จกลับมาของพระเยซูจึงไม่ใช่เหตุการณ์ที่คำนวณได้ อย่างไรก็ตาม,พระเจ้าทรงเปิดเผยว่าวันสิ้นพิภพจะนำหน้าด้วยการข่มเหง, สงคราม, แผ่นดินไหว, และความอดอยาก, และการทดลองครั้งสุดท้ายที่จะสั่นคลอนความเชื่อของคริสตชนจำนวนมาก หลังจากนี้,เมื่อเราสวดบทข้าพเจ้าเชื่อถึงข้อความที่ว่า พระเยซูจะเสด็จมา “พิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย” ความจริงทั้งหมดจะถูกนำมาเปิดเผย ความดีจะมีชัยชะเหนือความชั่วในท้ายที่สุดและอย่างแน่นอน (ดูคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก, 668–679)
การเสด็จกลับมาของพระเยซู “เมื่อใด” และ “อย่างไร”นั้นมีความสำคัญน้อยกว่าบทเรียนฝ่ายวิญญาณที่การเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์สามารถสอนเราผู้มีความเชื่อได้ พระสงฆ์ในศตวรรษที่สี่,นักบุญเอเฟรม,ได้ไตร่ตรองถึงเรื่องวันสิ้นพิภพและความจำเป็นในการเฝ้าระวังขณะรอการเสด็จกลับมาของพระเยซู
นักบุญเอเฟรมเขียนว่า ในแต่ละยุคสมัย,ผู้มีความเชื่อทั้งหลายต่างเชื่อว่าพระคริสต์จะเสด็จกลับมาในช่วงชีวิตของพวกเขา แต่จะเป็นการดีกว่าที่เราจะไม่รู้ว่า “เมื่อใด” เพื่อที่เราจะได้เฝ้าระมัดระวังและสวดภาวนาต่อไป: “พระองค์ทรงสัญญาว่าพระองค์จะเสด็จมาแต่ไม่ได้ตรัสว่าจะเสด็จมาเมื่อใด และคนทุกยุคทุกสมัยก็รอคอยพระองค์อย่างกระตือรือร้น” (Commentary on the Diatessaron)
แม้ว่าเวลาแห่งการกลับมาของพระเยซูเจ้าจะไม่แน่นอน แต่เราสามารถได้รับผลกำไรทางจิตวิญญาณจากการพิจารณาเรื่องนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง,ในเทศกาลพระคริสตสมภพ,ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเสด็จมาของพระคริสต์ครั้งแรก, ไม่ใช่เพียงแต่การจุติเป็นมนุษย์,เมื่อพระเยซูทรงรับเนื้อหนังในครรภ์ของพระนางมารีย์เท่านั้น แต่ยังเสด็จมาตามที่ได้มีคำทำนายไว้แล้วอีกด้วย ในฐานะผู้มีความเชื่อ,เราต้องยอมรับมุมมองของการเฝ้าระมัดระวังและการเตรียมพร้อมฝ่ายจิตใจ โดยเอาใจใส่พระวาจาของพระเยซูเจ้า: “สิ่งที่เราบอกท่าน เราก็บอกกับทุกคนด้วยว่า ‘จงตื่นเฝ้าระวังเถิด!’” (มาระโก 13:37)
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น